กระจกนิรภัย (Safety Glass)
กระจกฉนวน (Insulated Glass) ***
เป็นกระจก 2 แผ่นหรือมากกว่าวางคู่ขนานกัน มีระยะห่างพอสมควร ขอบกระจกทุกด้านมีสารจำพวกการบรรจุอยู่เพื่อให้กระจกคงรูป และป้องกันอากาศชื้นจากภายนอกที่จะเข้ามาในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจก มีประสิทธิภาพมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า มีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านกระจก ลดระดับเสียงที่ผ่านผนังอาคารลง เหมาะสำหรับห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอัดเสียง
เป็นการนำกระจกมาประกบกับขอบเฟรมโดยมี Air Gap (ช่องอากาศ)อยู่ระหว่างกระจก 2 แผ่นกระจกชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน และ กันเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดีขนาดของ Air Gap ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท
* กระจกลามิเนต (LAMINATED GLASS)
กระจกลามิเนต เป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง ที่เวลาแตก เศษกระจกยังคงยึดติดกันอยู่ด้วยฟิล์มที่ยึดอยู่ระหว่างแผ่นกระจก เหมือนใยแมงมุมเศษกระจกที่แตกจะไม่หลุดออกจากกัน ยังคงยึดติดกันด้วยฟิล์มลามิเนต กระจกลามิเนตเป็นการนำกระจก 2 แผ่น หรือมากกว่า 2 แผ่น มาประกบติดกันด้วยฟิล์ม ซึ่งมักจะเป็น PVB ( polyvinyl butyral) โดยกระจกที่นำมาใช้ผลิตเป็นกระจกลามิเนต ก็คือกระจกธรรมดา (Annealed glass หรือ Floated glass) หรือกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered glass) ทั้งนี้กระจกลามิเนต มีทั้งกระจกใส หรือกระจกสีโปร่งแสง หรือสีขุ่นฝ้า ขึ้นอยู่กับสีของฟิล์มที่นำมาลามิเนต
ลักษณะการแตกของกระจกลามิเนต
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) ***
กระจกเทมเปอร์ ก็จะดูเหมือน กระจกธรรมดา ทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่าง คือความแข็งแกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float Glass) ประมาณ 5 เท่าตัว เราจึงเรียกกระจกชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์กระจกเทมเปอร์ เกิดจากขบวนการแปรรูป กระจกธรรมดา หรือ กระจกโฟล๊ท (Float Glass) เพื่อให้มีความแข็งแกร่ง และทนทาน ไม่แตกหักง่าย ทนต่ออุณหภูมิสูง-ต่ำ และแรงกระแทก ได้ดีกว่า เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพ ที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือร้อนจัด หนาวจัด
เป็นกระจกที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันถึง 5 เท่าการแตกก็จะแตกเป็นลักษณะของเม็ดข้าวโพด มีความแหลมคมน้อยกว่ากระจกธรรมดามากโดยทั่วไปนิยมใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์กับ ชุดบานเปลือย , กระจกห้องอาบน้ำ ฯลฯ
รูปภาพลักษณะกระจกอบเทมเปอร์หลังแตก
*** กระจกเสริมลวด (wired glass) ***
เป็นกระจกที่มีเส้นลวดแผงตาข่ายลวดฝังภายในกระจก จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง เมื่อแตก เส้นลวดจะช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้หลุดลงมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ มี 2 ชนิด คือ กระจกชนิดขุ่น (โปร่งแสง) และชนิดใส (โปร่งใส)
รูปตัวอย่างงานกระจกตกแต่ง – กระจกนิรภัย
Tags:
บทความ